วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ภาษาคอมพิวเตอร์

4.10  ภาษาคอมพิวเตอร์
มนุษย์ใช้ภาษาในการสื่อสารมาตั้งแต่สมัยโบราณ การใช้ภาษาเป็นเรื่องที่มนุษย์พยายามถ่ายทอด
ความคิดและความรู้สึกต่าง ๆ เพื่อการโต้ตอบและสื่อความหมาย ภาษาที่มนุษย์ใช้ติดต่อสื่อสารในชีวิต
ประจำวัน เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ หรือภาษาจีน ต่างเรียกว่า “ภาษาธรรมชาติ” (Natural
Language) เพราะมีการศึกษา ได้ยิน ได้ฟัง กันมาตั้งแต่เกิดการใช้งานคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่อง
มือทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ทำงานตามที่ต้องการ จำเป็นต้องมีการกำหนดภาษา สำหรับใช้ติดต่อสั่ง
งานกับคอมพิวเตอร์ ภาษาคอมพิวเตอร์จะเป็น ”ภาษาประดิษฐ์” (Artificial Language) ที่มนุษย์คิดสร้าง
มาเอง เป็นภาษาที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะ มีกฎเกณฑ์ที่ตายตัวและจำกัด คืออยู่ในกรอบให้ใช้คำและ
ไวยากรณ์ที่กำหนดและมีการตีความหมายที่ชัดเจน จึงจัดภาษาคอมพิวเตอร์เป็นภาษาที่มีรูปแบบ
เป็นทางการ (Formal Language) ต่างกับภาษาธรรมชาติที่มีขอบเขตกว้างมาก ไม่มีรูปแบบตาย
ตัวที่แน่นอน  กฎเกณฑ์ของภาษาจะขึ้นกับหลักไวยากรณ์และการยอมรับของกลุ่มผู้ใช้นั้น ๆ
ภาษาคอมพิวเตอร์อาจแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ ภาษาเครื่อง (Machine Language) ภาษาระดับต่ำ
 (Low Level Language) และภาษาระดับสูง (High Level Language)
4.10.1  ภาษาเครื่อง (Machine Language)
การเขียนโปรแกรมเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานในยุคแรก ๆ จะต้องเขียนด้วยภาษาซึ่งเป็นที่ยอม
รับของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า “ภาษาเครื่อง” ภาษานี้ประกอบด้วยตัวเลขล้วน ทำให้เครื่องคอมพิว
เตอร์สามารถทำงานได้ทันที ผู้ที่จะเขียนโปรแกรมภาษาเครื่องได้ ต้องสามารถจำรหัสแทนคำสั่งต่าง ๆ
ได้ และในการคำนวณต้องสามารถจำได้ว่าจำนวนต่าง ๆ ที่ใช้ในการคำนวณนั้นถูกเก็บไว้ที่ตำแหน่งใด
 ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดในการเขียนโปรแกรมจึงมีมาก นอกจากนี้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่
ละระบบมีภาษาเครื่องที่แตกต่างกันออก ทำให้เกิดความไม่สะดวกเมื่อมีการเปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอ
ร์เพราะจะต้องเขียนโปรแกรมใหม่ทั้งหมด


ONLINE
We have 23 guests online

วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การเติมหมึก

การเติมหมึกLaser jet หรือการทำตลับหมึก Remanu Laser jet
จุดประสงค์หลักของการทำธุรกิจ Recycle-Toner cartridge การเติมหมึกLaser jet หรือการทำตลับหมึก Remanu Laser jet คือการนำทรัพยากรธรรมชาติกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยผ่านกระบวน การผลิตซ้ำ
จึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ช่วยประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ ลดการนำเข้าจากต่างประเทศและช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ ถึง 60-70% ทำให้ลดค่าใช้จ่ายลงอย่างมาก
การ Recycle-Toner cartridge คือการนำตลับหมึก Laser jet ที่ใช้หมดแล้วนำกับมาใช้ใหม่อีกครั้ง ด้วยวิธีการเติมหมึกเข้าไปใหม่โดยใช้หลักการ เดียวกันกับกระบวนการผลิตตลับหมึก Original ดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่าใช้งานได้ 100%
12a-02การเติมหมึก ทางร้านจะมีเครื่องปริ้นเตอร์ Laser jet ใว้ test ( สำหรับบางรุ่นที่ลูกค้าใช้เป็นส่วนใหญ่ ) เพื่อทำการทดสอบการใช้งานว่าผ่านตามมาตรฐานจากทางร้าน? และเพื่อให้ลูกค้า มั่นใจได้ว่าตลับหมึกใช้งานได้จริง เมื่อเติมหมึกเสร็จทางร้านจะติด warranty รับประกันให้ลูกค้า ทางร้านจะรับประกันตลับหมึกที่เกิดจากการรั่วออกมาและต้องเกิดจากการใช้งาน จริง ทางร้านยินดีแก้ไขให้ทันที โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ ( ยกเว้น เกิดจากการเสื่อมสภาพของอะไหล่บางตัว ซึ่งต้องทำการเปลี่ยน อาทิ ตัว Drum ,ลูกยาง ซึ่งทางร้านมีอะไหล่ขายในราคาประหยัด )
อาการเสียที่พบบ่อยอันเกิดจากการเสื่อมสภาพตามปกติของตลับหมึก คือตัว Drum อาการเสียคือเวลาปริ้น ออกมาจะมีแถบดำด้านข้าง สาเหตุที่ตัว Drum ในตลับหมึกเสียเร็ว ขึ้นอยู่กับการใช้งานของลูกค้า เช่น สั่งปริ้นงานต่อเนื่อง ติดต่อกันหลายชั่วโมง โดยไม่มีการหยุดพักเครื่อง ทำให้เกิดความร้อนสูง Drumจึงมีโอกาสเสียเร็วกว่าปกติ หรืออาจเสื่อมไปตามสภาพ เพราะตัว Drum ถือว่าเป็นอะไหล่สิ้นแปลือง Drum 1 ตัว จะใช้งานได้ประมาณ 2 รอบ เมื่อนับจากการเติม หรือ อาจจะมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับการใช้งานนั่นเอง
การเก็บรักษาตลับหมึก Laser Jet เมื่อใช้หมด ควรเก็บไว้ในกล่องอย่าให้โดนแสง ควรเก็บไว้อย่างมิดชิด จะทำให้ยืดอายุการใช้งานของอะไหล่บางตัวในตลับหมึก เมื่อนำกลับมาเติมใหม่อีกครั้ง

หลักการทำงานของเครื่องปริ้นเตอร์ Laser Jet? เป็นเครื่องปริ้นเตอร์
laser-printer-laser-computer2care
 ชนิดใช้ผงหมึก (Toner) ทำงานร่วมพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnet) และพลังงานไฟฟ้าสถิตย์(Electrostatic) ซึ่งทำงานโดยลูกกลิ้งที่มีพลังงานแม่เหล็ก (Magnetic Roller ) จะดูดผงหมึก (Toner) ให้ติดกับตัวลูกกลิ้ง และต่อจากนั้น ผงหมึก (Toner) ก็จะถูกรีดให้ไปติดกับตัวลูกกลิ้ง ( OPC DRUM ) ที่มีพลังงานไฟฟ้าสถิตย์อยู่ ซึ่งได้รับสัญญาณไฟฟ้าที่ส่งมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ และให้ลูกกลิ้ง( OPC DRUM ) รีดผงหมึก (Toner) ให้ติดกับกระดาษตามภาพ หรือตัวอักษรที่ต้องการ


วิธีการใช้ ink tank 
วิธีการใช้งาน ink tank
วิธีใช้งานปกติ
       -  ปิดจุกยางด้านเติมหมึก(1)
       -  ใส่ตัวกรองอากาศด้านอากาศเข้า(2)
วิธีเติมหมึก
       -  ปิดจุกยางด้านอากาศเข้า(2)
       -  เปิดจุกยางด้านเติมหมึก ฉีดหมึกลงไปในช่องเติมหมึก(1)
วิธีปรับแรงดันหมึก
       -  เปิดจุกยางทั้ง ด้าน
       -  ใช้ไซริ้งค์เป่าอากาศลงไปในช่องอากาศเข้า(2) จนระดับหมึกลดลงต่ำสุด ปล่อยไซริ้งค์ไว้อย่าเพิ่งดึงไซริ้งค์ออก
       -  ปิดจุกยางด้านเติมหมึก(1)
       -  เอาสลิงค์ออกแล้วใส่ตัวกรองอากาศด้านอากาศเข้า(1) ใช้งานตามปกติ
ข้อควรระวัง
       -  ตัวแท็งค์ควรยกสูงจากพื้นประมาณ 2 cm (เฉพาะรุ่นที่มีช่องปรับแรงดันเหมือนในรูป)
       -  ระวังถ้าหากมีหมึกเยิ้มที่หัวพิมพ์ควรปรับแรงดันหมึก ถ้ายังไม่หายให้ลดระดับแท็งค์ลงมาอีก 0.5 cm และทำความสะอาดหมึกออกให้หมดจากหัวพิมพ์ ซึ่งอาจจะทำให้หัวพิมพ์ช็อตได้
       -  ถ้าไม่ได้ใช้งานนานๆ ควรปิดจุกยางทั้ง ด้าน
       -  กรณีที่มีอากาศอยู่ในสายท่อยางของแท็งค์ ทำให้งานพิมพ์ออกมาไม่ดีให้ถอดสายยางออกจากตลับหมึกของสีนั้นๆ แล้วใช้ไซริ้งค์อัดอากาศเข้าไปในช่องอากาศเข้า(2) ทีละน้อยเพื่อไล่อากาศออกมาจะสังเกตเห็นว่าน้ำหมึกจะไหลจนเต็มสายยาง แล้วจึงเสียบสายยางเข้าไปในตลับหมึกเหมือนเดิม
       -  หมั่นตรวจเช็ค สายท่อยางระวังอย่าให้ติดขัดเวลาหัวพิมพ์วิ่งไปมา
       -  ระวังอย่าให้หมึกหมดแท็งค์ ควรเติมหมึกเมื่อระดับหมึกเหลือประมาณ 20%

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

คอมพิวเตอร์ DNA

คอมพิวเตอร์ DNA ที่เป็นประเด็นกันอยู่ตอนนี้ หมายถึงเครื่องคำนวณที่ใช้ DNA มาเป็นกลไกหลักในการทำงาน คือ DNA ของสิ่งมีชีวิตจริงๆ เนี่ยะแหละ ไม่ใช่พวก Dynamics Network Architecture หรือ Digital Numerical Automatic (หลังๆ มานี่ตัวย่อเยอะมาก จนผมเริ่มหัดเสกคำย่อใหม่ๆ จนเป็นนิสัย) แต่เป็น Deoxyribo Necleic Acid ของเราเอง ความพยายามเอา DNA ซึ่งเป็นสารชีวภาพมาช่วยการคำนวณได้นั้นนับเป็นเรื่องที่น่ามหัศจรรย์อย่างยิ่ง ยิ่งพิสูจน์ได้ว่าน่าจะเร็วว่าคอมพิวเตอร์ซิลิคอนอีกต่างหาก ก็ยิ่งน่ามหัศจรรย์เข้าไปใหญ่ ประมาณว่าแม้แต่เส้นผมของเรายังเร็วกว่าเพนเทียมทรี แต่ความจริงมีรายละเอียดข้างในให้ติดตามอีกมาก อย่าเพิ่งทึกทักแบบนั้น
ความจริงถ้าพวกเราได้ติดตามข่าวคราววงการคอมพิวเตอร์มาเป็นเวลานาน ก็จะพบว่าไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ที่จะมีคนออกมาทำนายว่า Moore's Law อาจจะไม่เป็นจริงอีกต่อไป คือพูดกันมาหลายครั้งแล้ว คนที่ทักคนแรกๆ ก็คงจะอารมณ์ประมาณว่า วิศวกรไม่น่าจะลดขนาดได้ทันตามกำหนดการณ์นั้นทุกครั้งไป หรือน่าจะมีสักครั้งที่ติดปัญหาอะไรที่น่าจะแก้ไม่ตก แต่ก็น่าแปลกอีกเช่นกันที่เหมือนว่ากฎนี้จะเอาตัวรอดมาได้ทุกครั้งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
แต่ในความคิดของผม กลับมองว่าความจริงแล้วกฎของ Moore นั้นไม่ได้เป็นกฎที่คาดการณ์เทคโนโลยี คือ ไม่ได้ทำนายว่านักวิทยาศาสตร์จะสามารถเพิ่มพลังให้กับซิลิคอนได้สองเท่าทุก 18 เดือน แต่เป็นกฎที่บอกใบ้นักการตลาดทราบว่า ถ้าคุณเพิ่มพลังให้กับซิลิคอนทุกๆ 18 เดือน รับรองว่าอัตรานี้ขายของดีที่สุด ถ้าเพิ่มเร็วกว่านี้ผู้ซื้ออาจจะเกิดอาการงงและปรับตัวไม่ทัน ส่งผลให้ระงับการตัดสินใจซื้อ (เหมือนกับที่เรามีแผ่น MP3 เยอะและเร็วมาก จนเราไม่มีความคิดจะตามเก็บให้หมดอีกต่อไป) แต่ถ้าปรับช้ากว่านี้ก็จะไม่มีแรงจูงใจพอให้ซื้อเครื่องใหม่ ทำนองว่าเครื่องเราก็ไม่เห็นจะแตกต่างกับเครื่องใหม่ซักเท่าใด ซึ่งประชาชนชาวซิลิคอนวัลลี่ย์ก็ดูเหมือนจะปฏิบัติตามกฎข้อนี้กันด้วยดีเป็นเวลานาน ผลก็คือพวกเราก็ซื้อเครื่องใหม่กันเป็นว่าเล่น โปรแกรมสำเร็จรูปก็อ้วนขึ้นอย่างรวดเร็ว จากแผ่นดิสค์แผ่นเดียวเก็บได้หลายโปรแกรม กลายเป็นโปรแกรมละหลายแผ่น และในที่สุดก็กลายเป็นโปรแกรมละหลายซีดี
คิดดูซิครับว่าอะไรจะบังเอิญปานนั้น ที่อินเทลสามารถเพิ่มซิลิคอนลงในซีพียูของตนได้สองเท่าทุกๆ 18 เดือนมาเป็นเวลา 20 กว่าปีแล้ว ความจริงทีม R&D ของอินเทลทำการบ้านล่วงหน้าไปไกลกว่านั้น แต่อินเทลเลือกที่จะทยอยปล่อยหมัดของตนในอัตราที่เหมาะสม แต่มาช่วงหลังนี้ นักทำนายให้เหตุผลที่ค่อนข้างจะน่าฟังว่าการพัฒนาด้วยซิลิคอนน่าจะมาถึงกำแพงจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความละเอียดในการสร้างทรานซิสเตอร์ และสายเชื่อมสัญญานในซีพียูอาจจะมาถึงระดับที่ไม่น่าจะเล็กลงกว่านี้ได้อีก เพราะข้อจำกัดคือ ไม่สามารถเล็กกว่าความยาวคลื่นของรังสีเอ็กซ์เรยได้ หรือจะเป็นข้อจำกัดเรื่องความเร็วสัญญาณคล็อกของซีพียูซึ่งโยงไปกับเรื่องขนาดของชิป ฯลฯ
เมื่อปี 1994 มีนักวิจัยคนหนึ่งชื่อว่า Professor Leonard Adleman จากมหาวิทยาลัย Southern California ท่านนี้คือผู้ร่วมสร้างอัลกอริทึมเข้ารหัส RSA อันโด่งดัง ตัว A ก็คือ Adleman นั่นเอง นอกจากนั้นท่านยังเป็นคนคิดคำว่า "ไวรัสคอมพิวเตอร์" ขึ้นเป็นคนแรก เพราะลูกศิษย์ของท่านเอาโปรแกรมมาให้ดูในห้องเรียนของท่านในปี 1983 บทเลกเชอร์ในหนังเรื่อง Sneaker ที่เกี่ยวกับเทคนิคขั้นสูงในการแยกตัวประกอบ เพื่อใช้ในการแฮกก็เป็นฝีมือของท่านอีก ท่านเล่าให้ฟังว่าตอนทำเลกเชอร์นี้อุตส่าห์วาดในเครื่องแมคเสียสวยงามใช้เวลาตั้งหลายชั่วโมง แต่ผู้กำกับกลับอยากได้เป็นลายมือหวัดๆ ทำให้ถึงกลับรำพึงออกมาว่า อยากได้หวัดๆ ก็ไม่บอกมีตั้งเยอะ ไม่ต้องเสียเวลาทำ
แต่งานนี้ท่านเป็นคนแรกที่สร้างแนวคิดว่า ความจริงแล้ว DNA ที่เป็นพิมพ์เขียวของสิ่งมีชีวิตนั้นสามารถนำมาสร้างเป็นเครื่องคำนวณได้ แรกๆ ความคิดนี้ดูเหมือนจะเป็นความคิดแผลงๆ ที่พยายามทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยาก แต่พอเห็นวิธีการจริงๆ แล้ว โลกทั้งโลกก็ต้องตะลึงกับผลที่ออกมา เพราะกลายเป็นว่า DNA มีพลังการคำนวณที่น่าตกใจมาก มากจนเล็งเห็นแนวโน้มว่าอาจจะเป็นคอมพิวเตอร์ยุคต่อไปเลยก็ได้ จากนั้นเป็นต้นมา งานวิจัยที่พยายามเอาทั้ง DNA หรือ RNA มาช่วยคำนวณก็แตกตัวให้เห็นมากมาย ว่ากันว่าปัจจุบันมีมากถึง 15 สายแล้ว เราจะมาดูตัวอย่างกันว่าโลกนี้ไปถึงไหนกันบ้าง ขลุกอยู่กับม็อบเขื่อนซะนาน ต้องเปิดตาซะหน่อย

เปิดตัวครั้งแรก


อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า DNA นั้นเริ่มถูกจุดประกายเป็นครั้งแรกโดยฝีมือของนาย Adleman และการจุดประกายนั้นนับได้ว่าเป็นการเปิดศักราชของสาขาวิชานี้เลย ดังนั้น Adleman ก็ต้องกลายเป็นบิดาไปอย่างไม่มีปัญหา โดยโจทย์แรกที่เขานำมาตั้งเป็นตัวอย่างก็คือปัญหา Traveling Salesman ที่เป็นปัญหา Classic ของคนเรียนวิชาอัลกอริทึม ปัญหานี้มีอยู่ว่า มีเมืองอยู่จำนวนหนึ่ง เช่น A ถึง F มีระยะเชื่อมต่อกันแตกต่างกันไป เซลล์แมนคนหนึ่งต้องเดินทางไปขายของทุกเมือง จะเลือกเดินทางอย่างไรจึงจะได้ทางสั้นที่สุด ดังนั้นคำตอบที่เป็นไปได้ถึงมีอาจเป็นตั้งแต่ ABCDEF ไปจนถึง FEDCBA
ลักษณะปัญหาแบบนี้เป็นปัญหาเชิงทฤษฎีกราฟ ซึ่งการแก้ปัญหามักใช้อัลกอริทึมเดียว (ผมใช้คำว่ามักจะ เพราะไม่อยากปิดทางอัจฉริยะชาวไทย ด้วยการใช้คำว่า "ต้อง") คือลองผสมดูทุกๆ วิธีที่เป็นได้ แล้วเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด ในวงการเรียกวิธีแบบนี้ว่า "bruce-force" แปลเป็นไทยได้ว่า "แรงควาย" ลักษณะเดียวกับการทดลองเดาพาสเวิร์ด ถ้าเป็นการคำนวณโดยใช้คอมพิวเตอร์ธรรมดาก็สามารถทำได้ แถมบอกได้เลยด้วยว่าจะใช้เวลาในการหาคำตอบนานเท่าใด ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ ถ้าเมืองมีซัก 6 เมืองก็ไม่เท่าไร แต่ถ้ามีซัก 100 ละก็ มันบอกว่าขอเวลาคิดซักล้านปี คอยหน่อยนะ !?!?!
แต่กับการใช้ DNA มาแก้ปัญหานั้นจะต่างออกไป สิ่งที่เป็นประเด็นสำคัญประเด็นแรกเลยก็คือ เราจะสามารถโมเดลปัญหาให้มาอยู่ในรูปของ DNA ได้อย่างไร? เราจะเอา DNA มาเกี่ยวกับเซลล์แมนได้อย่างไร? คำตอบของ Adleman ออกมาดังนี้ครับ คือ ขั้นแรกต้องทราบก่อนว่าข้อมูลในสายพันธุกรรมนั้นจะประกอบด้วยหน่วยพื้นฐาน 4 ตัวด้วยกันคือ A, T, C และ G (Adenine, Thymine, Cytosine และ Guanine) หลายคนอาจจะเห็นทันทีว่าอย่างนี้ก็เป็นเลขฐานสี่นั่นเอง เหมือนกับที่คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันเป็นเลขฐานสองที่ประกอบด้วย 0 กับ 1 ดังนั้นการแทนชื่อเมืองด้วยรหัส ATCG ก็ไม่น่าจะยาก

วงจรปิดดูผ่านมือถือ

วงจรปิดดูผ่านมือถือ



 หลักการเลือกชนิดของ กล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ให้เหมาะกับการใช้งาน สิ่งที่ต้องควรคำนึงถึงมีดังต่อไปนี้
1.
ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ที่ใช้ทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ CCIR ( ระบบ PAL:ใช้ในประเทศไทย ) และ EIA (NTSC) กล้องวงจรปิด  (CCTV) ระบบ CCIR เป็นระบบมาตรฐานยุโรป 625 เส้น 220 โวลต์ 50 เฮิรตช์ ส่วน EIA เป็นระบบมาตรฐานอเมริกัน 525 เส้น 110 โวลต์ 60 เฮิรตช์ ฉะนั้นกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในประเทศไทยจะต้องเป็นระบบ CCIR

2.ขนาดของ แผ่นรับภาพของ CCD Sensor format (ที่เรียกติดปากกันว่า ขนาดชิป ) ถ้ายิ่งมีขนาดใหญ่ยิ่งดี เพราะสามารถมองภาพได้มุมที่กว้าง เช่น ขนาด 2/3", 1/2", 1/3", และ 1/4"  เป็นต้น ขนาดของแผ่นรับภาพแต่ละรุ่นนั้นจะมีผลต่อความละเอียดของภาพ ( Numbers of Pixels ) และการเลือกใช้เลนส์ให้ได้มุมมองของภาพตามต้องการ

3.ความสว่าง ( Illumination ) คุณสมบัติของอุปกรณ์รับภาพของ กล้องโทรทัศน์วงจรปิด
(CCTV)นั้น ไม่ใช่มีผลเฉพาะต่อความไวที่มีต่อแสงสว่างเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อสีของวัตถุอีกด้วย คุณภาพ ของภาพที่ดีจะขึ้นอยู่กับความเข้มของแสงที่ฉากรับภาพ ในกรณีของ กล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ที่เป็น กล้องสี ต้องคำนึงถึงอุณหภูมิสี ( Colour Temperature) ที่ได้จากแสงสว่างร่วมกันกับแหล่งกำเนิดแสงทั่ว ๆ ไป เพราะประกอบด้วยแสงสีชนิดต่าง ๆ รวมกัน และแสงบริเวณรอบ ๆ กล้องที่จับภาพจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้แสงไม่คงที่ตลอดเวลา

ส่วนการกำหนดค่าความสว่างของ
กล้องวงจรปิด (CCTV) มีหน่วยเป็นลักซ์ :Lux  นั้นต้องคำนึงถึงความสว่างของพื้นที่กล้องจับภาพ, การสะท้อนของแสงที่ฉากรับภาพ, ระยะห่างของวัตถุฉากรับภาพถึงตัวกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ซึ่งทำให้อัตราการสูญเสียของแสงที่หายไปรวมถึงการเลือกใช้ชนิดของเลนส์เป็น องค์ประกอบการพิจารณาด้วย

โดยทั่วไป กล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) แบบ CCD สามารถแบ่งตามคุณสมบัติของความสว่างได้ 3 ระดับ คือ
1.กล้องที่ใช้ในกิจการทั่วไป ต้องการความสว่างตั้งแต่ 5-2,000 Lux
2.กล้องที่ใช้ในกิจการความปลอดภัยสูง ต้องการความสว่างตั้งแต่ 0.1-5 Lux
3.กล้องที่ใช้ในกิจการพิเศษโดยเฉพาะอย่าง ต้องการความสว่างตั้งแต่ 0.0001-0.1 Lux

4.ระบบซิงค์ ( Synchronization ) โดยทั่วไป
กล้องวงจรปิด  (CCTV) จะมีวงจรกำเนิดซิงค์ในตัวของมันเองอยู่แล้ว ซิงค์ของกล้องแต่ละตัวจะไม่ตรงกัน หากเรานำกล้องหลาย ๆ ตัว มาใช้ร่วมกันโดยผ่าน เครื่องลำดับภาพ (Sequence Switcher) และแสดงภาพบนจอมอนิเตอร์ จะสังเกตเห็นได้ว่าในขณะที่เครื่องลำดับภาพสลับภาพจาก กล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ตัวหนึ่งไปยังอีก กล้องวงจรปิด  (CCTV)ตัวหนึ่งนั้น ภาพจะกระตุกในแนวตั้งบนจอมอนิเตอร์ ซึ่งจะมีผลต่อการบันทึกภาพวิดีโอ เมื่อนำภาพวิดีโอนั้นมาเล่นอสลับทำให้ภาพล้มเป็นช่วง ๆ ตามจังหวะ การสลับภาพของเครื่องลำดับภาพ

5.ความคมชัดของภาพ ( Resolution ) กล้องที่มีความคมชัดสูงจะให้ภาพที่คมชัด ซึ่งคุณสมบัตินี้นับว่าเป็นพื้นฐานของการเลือกชนิดของกล้อง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบของแต่ละโรงงานให้เหมาะสมกับการใช้งานในลักษณะ ที่แตกต่างกันออกไป
หลังจากเรารู้คุณสมบัติหรือหลักการของ
กล้องวงจรปิด แล้ว คราวนี้ก็อยู่ที่ว่าร้าน บ้าน หรือสถานที่ในการติดตั้งกล้องเป็นที่ใดแล้วพิจารณาให้เหมาะสมกับการใช้งาน จริงๆ เพราะจะได้ความชัดเจน และประหยัดค่าใช้จ่าย

วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

GPS คืออะไร

GPS ย่อมาจาก Global Positioning System หรือ "ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก"
ชื่อเต็มของระบบนี้คือ  NAVSTAR  Global  Positioning  System คำว่า  NAVSTAR เป็นอักษรย่อมาจาก  Navigation  Satellite  Timing  and  Ranging ภาคของคำว่าดาวเทียมสำหรับนำร่อง คือระบบที่ระบุตำแหน่งทุกแห่งบนโลก
เป็นระบบบอกตำแหน่งบนพื้นผิวโลก โดยอาศัยการคำนวณพิกัด จากดาวเทียมระบุตำแหน่ง จำนวน 24 ดวง ที่โคจรอยู่รอบโลก ในระดับสูงประมาณ 20,000 กิโลเมตร ทำให้สามารถชี้บอกตำแหน่งได้ทุกแห่งบนโลกตลอดเวลา 24 ชั่วโมง



จากการความสามารถดังกล่าว ทำให้ระบบดังกล่าวมีประสิทธิภาพ ในการบอกตำแหน่งบนพื้นโลก อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนสำหรับประชาชนทั่วไป เพราะเดิมทีระบบ GPS เป็นระบบที่ถูกใช้งานการทหารของ กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา เท่านั้น

ด้วยความสามารถของ GPS ทำให้เราสามารถนำข้อมูลตำแหน่งมาใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น
1.    1. GPS หาตำแหน่งที่แน่นอนบนพื้นโลกของเรา ป้องกันการหลงทางในการหาจุดอ้างอิงต่างๆ เช่น ร้านอาหารโปรด สถานีตำรวจ



2.    2. GPS ใช้ในการแนะนำเส้นทางไปยังจุดต่างๆ บนโลก ดังที่เราเรียกว่า “ระบบนำทาง” หรือ “Navigator” ซึ่งมีให้กันใช้อยู่ทั่วไปในปัจจุบัน



 3. ใช้ในการติดตามบุคคล หรือ ติดตามยานพาหนะ เพื่อใช้ในการตรวจสอบเส้นทางการเดินทาง ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ ยังมีประโยชน์อีกมากมายที่จะสามารถประยุกต์ใช้งานได้มากมาย กับระบบ GPS


หลักการทำงาน GPS
       หลักการของเครื่อง GPS คือ การคำนวณระยะทางระหว่างดาวเทียมกับอุปกรณ์รับ GPS โดยจะต้องทราบตำแหน่งของดาวเทียมแต่ละดวง ประกอบกับได้ระยะทางจากดาวเทียม 3 ดวง ขึ้นไปแล้ว อุปกรณ์ GPS ก็จะสามารถคำนวน หาจุดตัดกันของผิวทรงกลม ของระยะทางของดาวเทียม GPS แต่ละดวงได้
       ดังนั้น ในทางทฤษฏี สิ่งที่อุปกรณ์ GPS จำเป็นต้องทราบในการคำนวนหาตำแหน่งแต่ละครั้ง คือ
1. ตำแหน่ง ดาวเทียม GPS ในอวกาศ อย่างน้อย 3 ดวง
2. ระยะห่างจาก ดาวเทียม GPS แต่ละดวง

       โดยการจะได้มาซึ่ง ข้อมูลทั้ง 2แบบ ในทางปฏิบัติ คือ
       1.การได้มา ซึ่ง ตำแหน่งดาวเทียม GPS ในอวกาศ
       การได้มา ซึ่งตำแหน่งดาวเทียม GPS ในอวกาศ จะต้องได้มีข้อมูลประกอบ 2 ตัว คือ
a.   ข้อมูลวงโคจร       : จะทำให้อุปกรณ์ GPS ทราบว่า เส้นทางการเดินทางของดาวเทียม GPS แต่ละดวงจะอยู่ ณ ตำแหน่งใด เมื่ไร
b. เวลาปัจจุบัน : ซึ่งเมื่ออุปกณ์ GPS ทราบ เวลาปัจจุบัน แล้ว ก็จะใช้เวลาปัจจุบัน ไปคำนวนหาตำแหน่ง ของดาวเทียม GPS จากข้อมูลวงโคจรได้
       ดังนั้น เมื่ออุปกรณ์รับ GPS ทราบ ข้อมูลวงโคจร ดาวเทียม GPS และเวลาปัจจุบัน อุปกรณ์รับ GPS ก็จะทราบตำแหน่ง ดาวเทียมในอวกาศได้ ซึ่งข้อมูลทั้งหมด จะได้มาจากสัญญาณดาวเทียมที่อุปกรณ์รับ GPS ตัวนั้นรับได้
       2. การได้มา ซึ่ง ระยะห่างของอุปกรณ์รับ GPS กับ ดาวเทียม GPS แต่ละดวง
       เนื่องจาก การเตินทางของคลื่นสัญญาณ GPS นั้น จะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่(vคงที่) คือ ความเร็วแสง (186,000ไมล์ต่อวินาที) ซึ่งเมื่อเป็นดังนั้น ถ้าอุปกรณ์รับ GPS รู้ระยะเวลา(t) ที่สัญญาณใช้ในการเดินทางจาก ดาวเทียม GPS มายังอุปกรณ์รับ GPS ก็จะสามารถคำนวนระยะทางระหว่าง ดาวเทียม GPS กับ อุปกรณ์รับ GPS ได้ จากสูตร
       ความเร็ว X เวลา = ระยะทาง
       ซึ่งเมื่อเราทราบระยะห่างของดาวเทียมกับอุปกรณ์ GPS มากเท่าไร เราก็จะหาจุดของผิวทรงกลม ทำให้อุปกรณ์ GPS สามารถทราบว่าตัวเองอยู่นะจุดใดบนพื้นโลกได้ เช่น
       ดาวเทียม GPS 1 : ลอยอยู่ ณ จุดหนึ่งในอวกาศ ซึ่งเรารู้ตำแหน่ง จากข้อมูลวงโคจร GPS และ เวลาปัจจุบัน ระยะเวลาในการส่งสัญญาณจากดาวเทียมดวง GPS 1 ถึงเครื่องรับ GPS คือ 0.10 วินาที ระยะทางระหว่างดาวเทียมกับ GPS 1 คือ 18,600 ไมล์ (186,000 ไมล์ต่อวินาที X 0.10 วินาที = 18,600 ไมล์)
       ดังนั้น ตำแหน่งปัจจุบัน ของเครื่องรับ GPS ก็จะสามารถเป็นจุดใดๆ ก็ได้ บนผิวทรงกลมที่มีรัศมี 18,600 ไมล์

รูปโลก โดน สัมผัสด้วยทรงกลม ใส

       ดาวเทียม GPS 2 : ระยะเวลาในการส่งสัญญาณจากดาวเทียมดวง GPS 2 ถึงเครื่องรับ GPS คือ 0.08 วินาที ระยะทางระหว่างดาวเทียมกับ GPS 2 คือ 13,200 ไมล์ (186,000 ไมล์ต่อวินาที X 0.08 วินาที = 13,200 ไมล์)
       ดังนั้น ตำแหน่งปัจจุบัน ของเครื่องรับ GPS ก็จะสามารถเป็นจุดใดๆ ก็ได้ บนเส้นรอบวงที่เป็นการตัดกันของ ทรงกลมรัศมี 18,600ไมล์ ของดาวเทียม GPS 1 กับ ทรงกลมรัศมี 13,200ไมล์ ของดาวเทียม GPS 2

รูปโลก โดน สัมผัสด้วยทรงกลม ใส 2 วง


       ดาวเทียม GPS 3 : ระยะเวลาในการส่งสัญญาณจากดาวเทียมดวง GPS 3 ถึงเครื่องรับ GPS คือ 0.06 วินาที ระยะทางระหว่างดาวเทียมกับ GPS 3 คือ 11,160 ไมล์ (186,000 ไมล์ต่อวินาที X 0.06 วินาที = 11,160 ไมล์)
       ดังนั้น ตำแหน่งปัจจุบัน ของเครื่องรับ GPS ก็จะสามารถเป็นได้แค่ 2 จุด ที่เกิดจากจุดตัดของ ผิวทรงกลมรัศมี 18,600ไมล์ ของดาวเทียม GPS 1 กับ ผิวทรงกลมรัศมี 13,200ไมล์ ของดาวเทียม GPS 2 และ ผิวทรงกลมรัศมี 11,160 ไมล์ ของดาวเทียม GPS3
รูปโลก โดน สัมผัสด้วยทรงกลม ใส 3 วง

       ดังนั้น หากอุปกรณ์ GPS ยิ่งสามารถรับสัญญาณจากดาวเทียม GPS มากดวงเท่าไร ก็จะยิ่งสามารถ ระบุตำแหน่งได้แม่นยำยิ่งขึ้น
       ในกรณี ที่อุปกรณ์รับ GPS สามารถรับสัญญาณ GPS ได้จากดาวเทียม GPS เพียง 3 ดวง อุปกรณ์รับ GPS จะมีความสามารถในการประมาณตำแหน่งบนพื้นโลกได้ และจะตัดจุดที่ไม่ใช่ตำแหน่งบนพื้นโลกทิ้งไป ทำให้เหลือเพียงตำแหน่งแหน่งเดียวที่เป็นไปได้

       จะเห็นได้ว่าจะเหลือตำแหน่งอยู่ 2 จุดที่บริเวณวงกลมทั้ง 3 ตัดกันคือตำแหน่งที่ อยู่ในอวกาศซึ่งแน่นอนว่าเราไม่สามารถไปอยู่ในอวกาศได้ตำแหน่งนี้จะถูกตัดทิ้งอัตโนมัติ โดยเครื่อง GPS อีกตำแหน่งคือตำแหน่งบนพื้นโลกซึ่งเป็นตำแหน่งที่เรายืนถือเครื่อง GPS อยู่นั้นเองซึ่งความถูกต้องแม่นยำของตำแหน่งก็ขึ้นกับจำนวนดาวเทียมที่สามารถรับ สัญญาณ ได้ในขณะนั้นหากมีมากกว่า 3 ดวงก็จะละเอียดมากขึ้น และก็ขึ้นกับเครื่อง GPS ด้วย หากเป็นเครื่องที่มีราคาแพง ( ซึ่งมักใช้เฉพาะงาน) ก็จะมีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น


GPS แบบ Navigator คือ อะไร


GPS แบบ Navigator คือ ระบบนำทางซึ่งในปัจจุบันเราจะพบมากทั้งในมือถือ PDA หรือแม้กระทั่งในรถยนต์ที่มีการเสริมในส่วนของระบบนำทางเข้าไป ซึ่งระบบ GPS แบบ Navigator นั้น โดยทั่วไปจะมีวิธีการโดยทั่วๆไปเหมือนกัน ดังนี้นะครับ
ระบบ GPS แบบ Navigator นั้นจะใช้ ดาวเทียมในการส่งค่าเพื่อคำนวณตำแหน่งและพิกัดโดยใช้ตัวรับสัญญาณ GPSเพื่อเป็นการบอกตำแหน่งที่อยู่บนพิกัดโลก ซึ่งใช้ในการคำนวณจากตำแหน่งที่อยู่ปัจจุบันไปยังจุดหมายปลายทาง ซึ่งจะใช้งานร่วมกับ ระบบแผนที่โดยการใช้วิธีจับคู่ตำแหน่งต่างๆที่อ่านได้จากดาวเทียมกับค่าพิกัดในระบบแผนที่ทั้งนี้อาจอาศัยเซ็นเซอร์อื่นๆช่วยในการคำนวณระยะทางที่เดินทางได้แน่นอนขึ้น
ภาพรวมการทำงานของระบบ GPS แบบ Navigator


          การทำงานของระบบ GPS แบบ Navigator นั้น จะใช้ Software ตัวขับเคลื่อนพื้นฐาน ในตัวของ GPS ทำงานร่วมกับระบบแผนที่ ซึ่งในตัวของ GPS แบบ Navigator ซึ่งตัว Software และ ระบบแผนที่นี่เองเป็นจุดแตกต่างของ GPS ในแต่ละยี่ห้อ แต่ทั้งนี้ Software ตัวหลักในการประมวลผลนั้นมีด้วยกัน ดังนี้ครับ
·         GPS receiver & positioning system
·         Map drawer
·         Address search
·         Route calculator
·         Voice guidance
·         On Board/Off board Navigation
GPS receiver & positioning system
จะเป็นระบบที่คอยรับค่าพิกัดโลกจากดาวเทียม ซึ่งต้องอาศัยดาวเทียมอย่างน้อย 3 ดวงในการประมวลผลเพื่อที่จะสามารถบอกพิกัด แบบละติจูดและลองติจูดของตัวนำทางในการหาตำแหน่งของตัวนำทางและนำค่าพิกัดมาแสดงผลในระบบนำร่อง


Map drawer
Map drawer จะเป็นแผนที่ที่ปรากฎอยู่ในระบบนำร่องซึ่งจะได้มาจากบริษัทที่ผลิตอุปกรณ์ GPS ซึ่งในแต่ละบริษัทก็อาจจะมีสัญลักษณ์และความละเอียดแตกต่างกันไป


Address search
Address search เป็น software ที่ใช้ในการค้นหาตำแหน่งที่อยู่ต่างๆที่เราสนใจ (User Location) รวมถึงใช้หาจุดPOI (Point of Interest) ซึ่งข้อมูลต่างๆนั้นเป็นข้อมูลพื้นฐานที่บริษัททำแผนที่ได้ทำไว้ โดยซอฟแวร์ส่วนที่ทำการค้นหาที่อยู่และ POI จะทำการค้นหาจากระบบดาตาเบสที่ได้เก็บข้อมูลไว้ในตัว GPS เพื่อใช้ในการประมวลผล ซึ่งแยกกันอยู่คนละส่วนกับMap drawer และอาจจะเสนอในรูปแบบฟังก์ชันในรูปแบบต่างๆกันในแต่ละบริษัท เช่น ฟังก์ชั่นการค้นหาอย่างฉลาด เป็นต้น การค้นหา POI ประเภทต่างๆ จากระยะทางหรือในเมืองนั้นๆ POI อาจมีการใส่เข้าไปได้เองตามแต่ชนิดของ GPS
หมายเหตุ POI จะเป็นจุดที่แสดงบนแผนที่อยู่แล้วเช่นวัด ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น ส่วน User Location นั้นจะเป็นจุดที่ผู้ใช้งานสนใจหรือกำหนดไว้เป็นจุดเริ่มต้น หรือ จุดหมายปลายทาง
Route calculator
Route calculator เป็น Software ที่ใช้คำนวณระยะทางจากจุดเริ่มต้น ไปยังตำแหน่งที่ผู้ใช้กำหนด
Voice guidance
Voice guidance คือ เสียงพูดที่คอยบอกทางซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละยี่ห้อของ GPS เช่น อีก 100 เมตร เลี้ยวซ้าย

On Board/Off Board Navigation
On Board Navigation จะเป็น Software ที่ช่วยในการตรวจสอบเส้นทาง เช่น เมื่อเราได้ทำการกำหนดจุดเริ่มต้นและจุดหมายให้กับ GPS แบบ Navigator แล้ว ภายในตัว GPS จะทำการจดจำเส้นทาง เมื่อเราขับรถออกนอกเส้นทางที่ได้ทำการคำนวณไว้ On Board จะทำการส่งเสียงเตีอนและหาเส้นทางใหม่โดยอัตโนมัติจะใช้ในระบบนำทางในรถยนต์(Car Navigation System) โดยเป็นระบบ Real time ส่วน Off Board Navigation จะแตกต่างจาก On Board เล็กน้อยเพราะระบบ Off Boardไม่ใช่ระบบ Real time แอปพลิเคชันเท่าที่ปรากฏให้เห็นคือ ระบบนำทางที่ใช้ใน มือถือหรือ PDA ผ่านระบบ GPRS ซึ่งไม่มีความจำเป็นต้องใช้แบบ Real time นั่นเอง
นอกจาก Software ต่างๆแล้วอีกตัวที่จะขาดไม่ได้เลยในระบบ GPS แบบ Navigator คือ ระบบแผนที่
ระบบแผนที่
ระบบแผนที่ คือ แผนที่ที่ใช้ในระบบนำทางหรือ GPS แบบ Navigator ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีมาตรฐานอย่างเป็นทางการส่วนใหญ่แผนที่ที่นิยมใช้กันโดนทั่วไปจะมาจาก 2 บริษัทยักษ์ใหญ่ คือ แผนที่จากบริษัทนาฟเทค (NavTeq) และจากบริษัทเทเลเอตลาต (Tele Atlas) แต่นอกจาก 2 บริษัทนี้ก็ยังมีบริษัทอื่นๆอีกแต่ไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากข้อมูลของแผนที่แต่ละประเทศมีขนาดข้อมูลมหาศาลและใช้เนื้อที่ในการเก็บขนาดใหญ่ ทำให้ไม่สามารถนำข้อมูลทุกอย่างที่เพื่อใช้ในซอฟแวร์ของระบบนำร่องได้จึงได้มีการนำข้อมูลแผนที่นั้นมาทำการจัดเรียงใหม่เพื่อความเหมาะสม เพื่อประโยชน์ในเรื่องขนาดของแผนที่ๆต้องนำไปใช้ตลอดจนความรวดเร็วในการเข้าอ่านและประมวล ผลข้อมูล


GPS แบบ Tracking คืออะไร
ระบบติดตามยานพาหนะ หรือ ระบบติดตามบุคคล

        

     Tracking GPS สามารถอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายๆ โดยลองนึกภาพถึงภาพยนต์บู๊เชิงวิทยาศาสตร์ ที่พระเอกโดนติดตามโดยตัวร้ายด้วยการเอากล่องเหล็กๆ แปะไว้ใต้ท้องรถ หรือแอบใส่ในเสื้อนางเอก แล้วตัวร้ายก็สามารถดูพระเอกได้ผ่านจอ Computer ที่มีแผนที่ถนนแสดงนั้น เรื่องราวเหล่านี้ไม่ใช่เป็นค่าภาพยนต์อีกแล้ว (หน่วยราชการไทยบางหน่วยก็มีใช้ในปัจจุบัน เทคโลยี GPSถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย สำหรับการนำมาใช้เพื่อภาคธุรกิจ การติดตั้ง Tracking GPS เป็นเรื่องง่ายมาก เพียงแค่ติดตั้ง กล่องดำ GPS ในรถขององค์กร แค่นี้ เราก็สามารถดูได้แล้วว่าลูกน้องเราไปไหนมาบ้าง ผ่านหน้าจอ Computer ที่ Office เหมือนกับที่เค้าทำกันในหนังวิทยาศาสตร์แล้ว



          GPS แบบ Tracking หรือที่เรียกว่า “ระบบติดตามยานพาหนะ”  ซึ่งในปัจจุบัน เป็นเทคโนโลยีที่ได้ถูกพัฒนาขึ้น มาเพื่ออำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ ในองค์กรและหน่วยงานต่างๆที่มีความต้องการการบริหาร พนักงานและ ยานพาหนะในองค์กร ให้ทำงานไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ระบบ GPS แบบ Tracking เข้ามามีบทบาท ในการตรวจสอบพฤติกรรม และในการวัดผลต่างๆ ด้วยเหตุว่ามีความ รวดเร็ว และถูกต้อง แม่นยำ ของระบบติดตามยานพาหนะ หรือ GPS แบบTracking จะทำให้ผู้ดูแลระบบสามารถทราบพฤติกรรมของพนักงาน เสมือนอยู่กับเค้าตลอดเวลา

ประโยชน์ของ GPS แบบ Tracking
1.    ทราบถึงปัจจุบัน สถานะต่างๆ ของสิ่งที่เราต้องการติดตามไม่ว่าเป็นคน หรือยานพาหนะ ซึ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญ เช่น ตำแหน่งในปัจจุบัน
2.    ทราบถึงอดีต รายงานย้อนหลัง หลายๆ อย่างในระบบยานพาหนะได้ เช่น การคำนวนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต่อวัน ระยะทางที่วิ่งต่อวัน เนื่องจากทั่วไป ระบบ Tracking GPSส่วนใหญ่จะมีรายงานย้อนหลัง เพื่อใช้ในวิเคาระห์สำหรับผู้ดูแลระบบ
3.    เพิ่มความปลอดภัยในการขนส่ง เนื่องจากในหลายๆ ผู้ผลิต Tracking GPS เราสามารถทราบตำแหน่ง และความเร็วของ ยานพาหนะเราในปัจจุบันได้ ทำให้สามารถเตือนผู้ขับขี่ได้เมื่อมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการประสบอุบัติเหตุ รวมถึงบางผู้ผลิตสามารถมีระบบแจ้งเตือนอัตโนมัติมายังผู้ควบคุมและไปยังพนักงานขับรถได้ในทันที ที่มีปัจจัยเสี่ยงตามเงื่อนไข เช่น วิ่งเร็วเกินที่กำหนด หรือ วิ่งออกนอกเส้นทางที่วางแผนไว้
4.    วางแผนเส้นทางทำงานล่วงหน้า ผู้ผลิต Tracking GPS บางราย ระบบสามารถวางแผนงานไว้ล่วงหน้าก่อนการเดินทางจะมาถึง และระบบสามารถวิเคราะห์ แจ้งเตือนเมื่อมีการทำงานนอกแผนที่วางไว้
5.    ลดการทุจริต ผู้ผลิต Tracking GPS บางราย ระบติดตามยานพาหนะ สามารถตรวจสอบระดับน้ำมันเชื้อเพลิง และสรุปการจอดของยานพาหนะทั้งหมดได้ ซึ่งข้อมูลอย่างดีในกรณี การขโมยน้ำมันเชื้อเพลิง หรือแอบขายอะไหล่ ได้
ประเภทของ GPS แบบ Tracking
GPS แบบ Tracking (ระบบติดตามยานพาหนะถูกแบ่งออกเป็น 2 แบบประเภทใหญ่ๆ
1.    GPS Tracking แบบ Off-line : เป็นการนำเทคโนโลยี GPS มาผสมกับหน่วยความจำ( Memory ) ซึ่งจะทำให้ผู้ดูแลระบบ สามารถทราบข้อมูลในอดีตของยานพาหนะที่ต้องการติดตามโดยมีหลักการทำงานดังนี้


a.    อุปกรณ์ GPS Tracking แบบ Off-line จะรับข้อมูลตำแหน่งยานพาหนะ GPSและข้อมูล Sensor อื่นๆ ภายในรถ เช่น ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง , ปริมาณระดับความร้อนของเครื่องยนต์ , สัญญาณการติดเครื่องยนต์ , สัญญาณการเปิดเครื่องปรับอากาศ , สัญญาณการเปิดตูสินค้า ซึ่งการรับข้อมูลต่างๆ จากยานพาหนะนี้ จะถูกจัดเก็บตลอดเวลาการทำงาน
b.    ข้อมูลทั้งหมดจะถูกเก็บสู่ หน่วยความจำ (Memory) ภายในอุปกรณ์ โดยปกติจะสามารถเก็บไว้ได้เป็นระยะเวลานาน หลายๆ วัน
c.    เมื่อยานพาหนะกลับมายังบริษัท ผู้ดูและระบบ GPS Tracking แบบ Off-line ก็จะนำข้อมูลที่อุปกรณ์เก็บไว้ตลอดระยะเวลาเดินทาง มาเก็บไว้ใน Computerซึ่งด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน สามารถทำได้หลายวิธี เช่น เดินไปหยิบMemoryมาเสียบเข้า Computer โดยตรง , มีอุปกรณ์วิทยุส่งข้อมูลจากอุปกรณ์มาComputer ที่มีเครื่องรับ ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่ไกลกันมากนัก
d.    เมื่อข้อมูลในอดีตของรถ ถูกเก็บเข้าไปใน Computer แล้วเราก็สามารถนำข้อมูลมาใช้งานได้ เช่น ดูการเดินรถย้อนหลัง และรายงานอื่นๆ
สำหรับผู้จำหน่าย Off-line Tracking GPS ในประเทศไทย ได้แก่ DTC, TAFF เป็นต้น ซึ่งGPSdeedee.com จะนำมา Review ให้ในโอกาสถัดไปนะครับ

2.    GPS Tracking แบบ On-line : เป็นอีกขั้นหนึ่งของเทคโนโลยี GPS คือมีการนำระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก GPS มารวม ระบบโครงข่ายสื่อสาร เช่น วิทยุ , SMS , GPRS ซึ่งเป็นการพัฒนาต่อยอดจาก แบบ Off-line ทำให้ระบบ Tracking GPSแบบ On-line สามารถแสดงตำแหน่งยานพาหนะในปัจจุบัน ได้ในทันที เป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ดูแลอย่างมากมาย โดยมีหลักการทำงาน ดังนี้


a.    อุปกรณ์ GPS Tracking แบบ On-line จะรับข้อมูลตำแหน่งยานพาหนะ GPSและข้อมูล Sensor อื่นๆ ภายในรถ เช่น ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง , ปริมาณระดับความร้อนของเครื่องยนต์ , สัญญาณการติดเครื่องยนต์ , สัญญาณการเปิดเครื่องปรับอากาศ , สัญญาณการเปิดตูสินค้า ซึ่งการรับข้อมูลต่างๆ จากยานพาหนะนี้ จะถูกจัดเก็บตลอดเวลาการทำงาน
b.    ข้อมูลทั้งหมดจะถูกเก็บสู่ หน่วยความจำ (Memory) ภายในอุปกรณ์ โดยปกติจะสามารถเก็บไว้ได้เป็นระยะเวลานาน หลายๆ วัน
c.    ข้อมูลจะถูกส่งออกมาจากอุปกรณ์ไปยัง Server กลาง ในทันที โดยไม่ต้องรอให้ยานพาหนะกลับมายังบริษัท โดยโครงข่ายสื่อสาร เช่น วิทยุ , SMS แต่ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน คือ GPRS(General Package Radio Service) เพราะสามารถส่งข้อมูลได้ในปริมาณมากๆ โดยที่มีค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงนัก
d.    ผู้ดูแลระบบสามารถดูข้อมูลของรถในปัจจุบัน และในอดีตได้ ผ่าน Computerได้อย่างสบายๆ
สำหรับผู้ผลิต On-line Tracking GPS ในประเทศไทย ได้แก่ Mobile Innovation, DTC, Forth Tracking, Mappoint Asia, Bangkok guide เป็นต้น ซึ่ง GPSdeedee.comจะนำมา Review ให้ในโอกาสถัดไปนะครับ




GPS:Navigator